Tourkrub Logo
แพลนการเดินทาง
เช้า
    เดินทาง
  • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  • ท่าอากาศยานหลวงพระบาง
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เป็นท่าอากาศยานที่เปิดทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ซึ่งในตอนแรกเปิดใช้แค่เที่ยวบินภายในประเทศ ในตอนนี้เป็นเสมือนท่าอากาศยานหลักประจำกรุงเทพฯ และยังเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีผู้เดินทางคับคั่งที่สุดในประเทศอีกด้วย

ท่าอากาศยานหลวงพระบาง
ท่าอากาศยานหลวงพระบาง

เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีความสำคัญเป็นลำดับสองของประเทศลาว รองจากท่าอากาศยานนานาชาติวัตไตที่กรุงเวียงจันทน์ ท่าอากาศยานแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับใจกลางเมืองหลวงพระบาง และยังเป็นฐานการบินลำดับที่สองของสายการบินลาว

กลางวัน
รับประทานอาหาร
ภัตตาคาร
    เดินทาง
  • น้ำตกตาดกวงชี
น้ำตกตาดกวงชี
น้ำตกตาดกวงชี

น้ำตกตาดกวางสี ซึ่งหมายถึงกวางหนุ่ม น้ำตกนี้ตกจากเขาที่สูง 70 เมตร สามารถถ่ายภาพจากด้านหน้าซึ่งมีสะพานพาดผ่านสายน้ำที่ตกลงมา ฉากหลังคือน้ำตกหินปูนสีขาวและน้ำใสๆ บางครั้งอาจเป็นละอองเกิดเป็นสีรุ้งให้ได้เห็น ทัศนีย์ภาพโดยรอบเป็นธรรมชาติให้เหล่านักท่องเที่ยวได้ศึกษาแมกไม้พืชพันธ์และยังมีจุดลงเล่นน้ำตามลำธารเล็กๆ บริเวณด้านล่างของน้ำตกท่านจะได้พบกับหมีดำที่นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูป นอกจากความงามของน้ำตกแล้ว ยังหาซื้อของที่ระลึกที่ทางเข้าน้ำตกได้อีกด้วย

เย็น
    เดินทาง
  • ตลาดคํ่า
ตลาดคํ่า
ตลาดคํ่า

เป็นตลาดกลางคืนบนบนถนนศรีสว่างวงศ์ ตั้งแต่หน้าพระราชวังจนสุดถนน ในตลาดมีสินค้าในบรรยากาศแบบหลวงพระบางยามราตรี มีทั้งเสื้อยืดสกรีนเป็นภาษาลาว, ผ้าคลุมไหล่, กระเป๋าถือ, เครื่องประดับ, โลหะเกะสลัก, ภาพเขียน ฯลฯ จุดเด่นคือ สินค้าแทบทุกชิ้นเป็นสินค้าแฮนด์เมดของชาวบ้านแท้ๆ ซึ่งวางจำหน่ายในราคาที่ต่อรองกันได้ อีกทั้งยังมีเบเกอรี่ ต่าง ๆ เพื่อให้ท่านได้ลิ้มลอง และขนมเค้กอันแสนอร่อยนานาชนิด หากท่านใดจะเลือกซื้อของใส่บาตรในเช้าวันรุ่งขึ้นก็สามารถจัดแจงหาซื้อได้เช่นกัน

รับประทานอาหาร
เรือ
โรงแรมและที่พัก
Chitchareung muanglouang hotel หรือเทียบเท่า Chitchareung Muanglouang Hotel หรือเทียบเท่า
เช้า
รับประทานอาหาร
โรงแรม
    เดินทาง
  • บ้านช่างฆ้อง
  • บ้านซางไห่
  • ถ้ำติ่ง
บ้านช่างฆ้อง
บ้านช่างฆ้อง

ที่นี่เป็นศูนย์หัตกรรมพื้นบ้านอีกแห่งหนึ่งของเมืองหลวงพระบางที่รวบรวมสินค้าหัตกรรมงานฝีมือต่างๆ ไว้สำหรับนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมหรือเรียนรู้วิธีการทำ อาทิ การทำงานกระดาษสา การทอผ้าไหมของลาว

บ้านซางไห่
บ้านซางไห่

บ้านซ่างไห (Sanghai) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงเรื่องการต้มเหล้าขาว หรือที่ชาวต่างประเทศเรียกกันว่า “เหล้าลาว (Lau Lao)” แทบทุกหลังคาเรือนจะมีการต้มเหล้า อันเป็นเอกลักษณ์เด่นๆ และเป็นอาชีพหลักของหมู่บ้านซ่างไห นอกจากจะให้ท่านได้ชมกรรมวิธีการต้มเหล้าแล้วยังมีสินค้าที่เป็นเหล้าหมักอีกมากมาย อาทิเช่น เหล้าดองแมงป่อง เหล้าดองงู จะซื้อเป็นของฝากก็ได้นอกจากจะมีเหล้าต้มแล้วยังมีการทอผ้า เครื่องเงินและของที่ระลึกของชาวเขาเผ่าแม้ววางจำหน่ายอีกด้วย

ถ้ำติ่ง
ถ้ำติ่ง

ล่องเรือชม ถ้ำติ่ง ตั้งอยู่ในภูเขาลูกใหญ่ตระหง่านอยู่ริมน้ำโขง เป็นลักษณะถ้ำริมหน้าผามีโพรงถ้ำตื้นๆ มีหินงอกหินย้อยเล็กน้อย เดิมมีพระพุทธรูปทอง เงิน นาก ปัจจุบันเหลือแต่พระพุทธรูปไม้จำนวนนับพันองค์ ในอดีตเจ้ามหาชีวิตแห่งหลวงพระบาง ต้องไปสักการะบูชาพระพุทธรูปในถ้ำ โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ลาว ทั้งเจ้ามหาชีวิต ข้าราชบริพาร พระสงฆ์ ประชาชนทั่วไปจะเดินทางไปสรงน้ำพระพุทธรูปที่ถ้ำติ่งบนและถ้ำติ่งล่าง 
ดังนั้นถ้ำติ่งจึงเป็นอีกไฮไลสำคัญที่ท่านจะไปไปชมและสักการะพระพุทธรูปภายในถ้ำ

กลางวัน
รับประทานอาหาร
ภัตตาคาร
    เดินทาง
  • พระราชวังหลวงพระบาง
  • วัดเชียงทอง
  • วัดใหม่สุวรรณภูมาราม
  • พระธาตุพูสี
พระราชวังหลวงพระบาง
พระราชวังหลวงพระบาง

เป็นอาคารเก่าที่ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมฝรั่งเศสผสมผสานวัฒนธรรมลาว ด้านนอกอาคารเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ พระราชวังแห่งนี้อดีตนั้นเป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2518 พระราชวังหลวงพระบาง ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ภายในเป็นที่ประดิษฐานของ “พระบาง” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบาง

วัดเชียงทอง
วัดเชียงทอง

วัดเชียงทอง เป็นวัดที่สำคัญและมีความงดงามที่สุดแห่งหนึ่งจนได้รับการยกย่องจากนักโบราณคดีว่าเป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว วัดเชียงทองถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ผนังภายในปิดทองฉลุบนพื้นรักสีดำ เล่าเรื่องพุทธประวัติพระสุธน-มโนราห์ ทศชาติชาดกและภาพนิทานเพื่อนบ้าน พระประธานมีชื่อว่า “พระองค์หลวง”นอกจากวัดเชียงทองจะมีพระอุโบสถที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างแล้ว การตกแต่งลวดลายตามผนังภายในมีการตบแต่งด้วยการนำกระจกสีมาตัดต่อกันเป็นรูปต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ด้านข้างก็ติดเป็นรูปสัตว์ในวรรคดี ยามบ่ายที่แสงแดดส่องสะท้อนลงมาดูสวยงาม

วัดใหม่สุวรรณภูมาราม
วัดใหม่สุวรรณภูมาราม

วัดใหม่สุวรรณภูมาราม หรือที่ชาวหลวงพระบางเรียกกันสั้นๆ ว่า "วัดใหม่" เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชบุญทัน ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์สุดท้ายของลาวและยังเคยเป็นที่ประดิษฐานพระบาง พระพุทธรูปคู่เมืองหลวงพระบางในรัชสมัยของเจ้ามหาชีวิตสักรินฤทธิ์ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2437 จึงได้อัญเชิญพระบางไปประดิษฐานในหอพระบางภายในพระราชวังจวบจนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อมาเยือนวัดแห่งนี้สิ่งที่เราจะสังเกตเห็นถึงความแตกต่างจากวัดอื่นๆ คือ ตัวอุโบสถ (สิม) ลักษณะจะเป็นอาคารทรงโรง หลังคามีขนาดใหญ่ มีชายคาปกคลุมทั้งสี่ด้านสองระดับต่อเนื่องกัน ผนังด้านหน้าพระอุโบสถตกแต่งด้วยภาพลงรักปิดทองดูเหลืองอร่ามงามตายาวตลอดผนัง เล่าเรื่องพระเวสสันดรชาดก โดยฝีมือช่างหลวงประจำรัชกาลเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์

พระธาตุพูสี
พระธาตุพูสี

พระธาตุภูษี (Phou Si Mountian) สองข้างทางร่มรื่นด้วยต้นดอกจำปา ภูษีนี้ หมายถึง “ภูศรี” คือเป็นศรีของเมืองหลวงพระบางนั่นเอง ตั้งโดดเด่นกลางใจเมืองมีจุดชมวิวก่อนถึงยอดพระธาตุ มองเห็นวัด บ้านเรือน ทอดยาวขนานกับแม่น้ำโขงจรดปากแม่น้ำคาน ยอดสูงสุดของภูษี อยู่บนพื้นที่ราบแคบๆ ตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยอดประดับด้วยเศวตฉัตรทองสำริด 7 ชั้น สูงประมาณ 21 เมตร จะสวยมากในยามบ่ายแก่ๆ แบบนี้แสงแดแจะส่ององค์พระธาตุเป็นสีทองสุกปลั่ง มีทางเดินรอบองค์พระธาตุ

เย็น
รับประทานอาหาร
ภัตตาคาร เมนู อาหารพื้นเมือง ขันโตก
โรงแรมและที่พัก
Chitchareung muanglouang hotel หรือเทียบเท่า Chitchareung Muanglouang Hotel หรือเทียบเท่า
เช้า
รับประทานอาหาร
โรงแรม
    เดินทาง
  • ตักบาตรข้าวเหนียว
  • ตลาดเช้าหลวงพระบาง
  • วัดวิชุนราช
  • บ้านผานม
ตักบาตรข้าวเหนียว
ตักบาตรข้าวเหนียว

ตักบาตรข้าวเหนียว (Tak Bat Kaonew) การใส่บาตรของชาวบ้านในยามเช้าตรู่ โดยทุกๆ เช้าราวตีห้าครึ่ง พระสงฆ์และสามเณรจากทุกวัดในตัวเมืองราว 300-400 รูป จะออกมาบิณฑบาตตามท้องถนนเมืองหลวงพระบางนี้ นิยมใส่บาตรร่วมกับชาวหลวงพระบาง บางคนเรียกการตักบาตรแบบชาวหลวงพระบางว่า “ ตักบาตรข้าวเหนียว” เหตุเพราะสังเกตเห็นว่าคนหลวงพระบางใส่บาตรแต่ข้าวเหนียวเปล่า โดยไม่มีกับข้าวเหมือนในเมืองไทย

ตลาดเช้าหลวงพระบาง
ตลาดเช้าหลวงพระบาง

เป็นตลาดสดให้ท่านเลือกซื้ออาหารพื้นเมืองและชมของป่าซึ่งของป่าบางชนิดก็แปลกตาและเป็นที่สนใจของเหล่านักท่องเที่ยวผู้มาเยือน จะมีการรอใส่บาตรข้าวเหนียว พร้อมกับประชาชนชาวหลวงพระบาง ซึ่งพระสงฆ์และสามเณรจากวัดต่างๆ ทั่วเมืองหลวงพระบางจะออกบิณฑบาตเป็นแถวนับร้อยรูป ซึ่งเป็นภาพอันน่าประทับใจและสื่อถึงความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของชาวเมืองหลวงพระบาง

วัดวิชุนราช
วัดวิชุนราช

วัดวิชุนราช ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าวิชุนราช (พ.ศ. 2046) นับเป็นอีกหนึ่งพระธาตุที่ชาวหลวงพระบางให้ความนับถือ ซึ่งเป็นพระธาตุที่มีรูปทรงคล้ายกับลูกแตงโมผ่าครึ่ง ชาวหลวงพระบางจึงเรียกชื่อ "พระธาตุหมากโม" มาจนถึงปัจจุบัน

บ้านผานม
บ้านผานม

บ้านผานม หมู่บ้านชาวไทลื้อผู้ทอผ้าของเจ้ามหาชีวิตลาว อีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวซึ่งผู้มาเยือนหลวงพระบางไม่ควรพลาด เพราะบ้านผานมมีชื่อเสียงในการทำผ้าทอมือด้วยกี่กระตุกแบบดั้งเดิม ผ้าทอบ้านผานมมีทั้งผ้าแพรเบี่ยงลวดลายแบบลื้อแท้ๆ และผ้าที่ประยุกต์เป็นของใช้ในชีวิตปัจจุบัน เช่น ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง ผ้ารองแก้วรองจานฯลฯ เดี๋ยวนี้ชาวบ้านผานม นำผ้าทอมาวางจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวเลือกซื้อที่ศูนย์หัตถกรรมกลางหมู่บ้าน

กลางวัน
รับประทานอาหาร
ภัตตาคาร
    เดินทาง
  • ท่าอากาศยานหลวงพระบาง
  • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานหลวงพระบาง
ท่าอากาศยานหลวงพระบาง

เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีความสำคัญเป็นลำดับสองของประเทศลาว รองจากท่าอากาศยานนานาชาติวัตไตที่กรุงเวียงจันทน์ ท่าอากาศยานแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับใจกลางเมืองหลวงพระบาง และยังเป็นฐานการบินลำดับที่สองของสายการบินลาว

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เป็นท่าอากาศยานที่เปิดทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ซึ่งในตอนแรกเปิดใช้แค่เที่ยวบินภายในประเทศ ในตอนนี้เป็นเสมือนท่าอากาศยานหลักประจำกรุงเทพฯ และยังเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีผู้เดินทางคับคั่งที่สุดในประเทศอีกด้วย