Tourkrub Logo
เย็น
    เดินทาง
  • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  • ท่าอากาศยานมุมไบ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เป็นท่าอากาศยานที่เปิดทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ซึ่งในตอนแรกเปิดใช้แค่เที่ยวบินภายในประเทศ ในตอนนี้เป็นเสมือนท่าอากาศยานหลักประจำกรุงเทพฯ และยังเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีผู้เดินทางคับคั่งที่สุดในประเทศอีกด้วย

ท่าอากาศยานมุมไบ
ท่าอากาศยานมุมไบ

ท่าอากาศยานนานาชาติฉัตรปาตีชีวจี มุมไบ ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางมุมไบไปทางเหนือ 30 กม. (19 ไมล์) ไม่นานมานี้มีการก่อสร้างส่วนขยายเพิ่มเติม และการปรับปรุงท่าอากาศยานนานาชาติฉัตรปาตีชีวจี มุมไบ เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับ และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสาร รวมถึงมีการปรับปรุงเส้นทางถนนไปยังสนามบิน โครงการนี้ครอบคลุมถึงอาคารผู้โดยสาร 2 แห่งใหม่ ที่มีกำหนดเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในสิ้นปี 2014 ส่วนต่อขยายไปยังระบบรถไฟใต้ดิน LRT ของมุมไบใหม่จะสร้างต่อไปจนกระทั่งถึงท่าอากาศยานในปี 2016

รับประทานอาหาร
เครื่องบิน
โรงแรมและที่พัก
Kohinoor/orchid hotel KOHINOOR/ORCHID HOTEL
เช้า
รับประทานอาหาร
โรงแรม ห้องอาหาร
    เดินทาง
  • วัดสิทธิวินายัก
  • ประตูสู่อินเดีย
วัดสิทธิวินายัก
วัดสิทธิวินายัก

เป็นวัดในศาสนาฮินดูที่อุทิศให้กับท่าน Shri Ganesh ตั้งอยู่ในเขต Prabhadevi ของเมืองมุมไบ ที่นี่ถูกสร้างขึ้นโดย Laxman Vithu และ Deubai Patil เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ปี 1801 ภายในวัดมีองค์พระพิฆเนศชื่อ Siddhi Vinayak ซึ่งมีความโด่งดังในฐานะพระพิฆเนศผู้มอบความปรารถนา นอกจากนี้ที่นี่ยังได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในวัดที่ร่ำรวยที่สุดในอินเดียด้วย

ประตูสู่อินเดีย
ประตูสู่อินเดีย

เป็นอนุสาวรีย์ในลักษณะซุ้มประตูที่ตั้งอยู่บริเวณแหลมทางใต้ของเมืองมุมไบ ที่นี่ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เพื่อรำลึกถึงการมาเยือนของของกษัตริย์จอร์จที่ 5 และสมเด็จพระราชินีแมรี ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษคนแรกที่มาเยือนอินเดีย ประตูนี้สร้างขึ้นจากหินบะซอลต์ซึ่งมีความสูง 26 เมตร ในสไตล์อินโด - ซาราเคนิก กับการผสมผสานองค์ประกอบของสถาปัตย์มราฐี ที่นี่เป็นจุดแลนมาร์คหนึ่งที่ห้ามพลาดมาถ่ายรูปหากได้มาเยือนมุมไบ

กลางวัน
รับประทานอาหาร
ภัตตาคาร
    เดินทาง
  • มหัด
  • เทวสถานศรีวรทาวินายัก
มหัด
มหัด

เป็นเมืองในเขตรากาด ล้อมรอบด้วยภูเขา Sahyadri กับแม่น้ำ Savitri มีภูมิอากาศแบบเขตร้อนและเห็นฝนตกหนักมากในช่วงมรสุม ฤดูร้อนจะร้อนมาก เมืองนี้เป็นที่รู้จักกันดีในอดีตเนื่องจากป้อมรากาด เมืองหลวงของ Maratha Empire ในยุค Shivaji Maharaj

เทวสถานศรีวรทาวินายัก
เทวสถานศรีวรทาวินายัก

เป็นหนึ่งในวัดของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ตั้งอยู่ในเขตเมืองมหัด ถูกสร้างขึ้นโดย Peshwa General Ramji Mahadev Biwalkar ในปี 1725 บริเวณวัดตั้งอยู่ด้านหนึ่งของสระน้ำที่สวยงาม ภายในห้องหลักของวัดมีเทวรูปพระพิฆเนศที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีปลายยอดโดมทำด้วยทองคำ มีตะเกียงน้ำมันในศาลเจ้านี้ซึ่งมีการกล่าวกันว่าถูกใช้งานมาตั้งแต่ปี 1892 และยังมี Shivalinga ซึ่งเป็นเทวรูปช้าง 4 ตัวคอยดูแลทั้ง 4 ด้านของวัด

เย็น
รับประทานอาหาร
โรงแรม ห้องอาหาร
โรงแรมและที่พัก
The pride/orchid hotel ห THE PRIDE/ORCHID HOTEL ห
เช้า
รับประทานอาหาร
โรงแรม ห้องอาหาร
    เดินทาง
  • เทวสถานศรีจินดามณี
  • เทวสถานศรีมยุเรศวร
เทวสถานศรีจินดามณี
เทวสถานศรีจินดามณี

เป็นเทวสถานของฮินดูที่สร้างเพื่ออุทิศให้กับพระพิฆเนศวรเทพเจ้าแห่งปัญญา ตั้งอยู่ห่างจากเมืองปูเน่ไปทางเหนือประมาณ 25 กิโลเมตร ประตูใหญ่ของวัดตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ส่วนอาคารหลักของวัดมี Chintamani - Ganesha ซึ่งเป็นนามของพระพิฆเนศหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ที่นี่เป็นหนึ่งในแปดสถานที่ที่เป็นที่เคารพนับถือของพระพิฆเนศชื่อดังในรัฐมหาราษฏระ ว่ากันว่า ผู้มาสักการะองค์ "พระศรีจินดามณี" จะสมหวัง ดังได้อธิษฐานต่อลูกแก้วจินดามณี

เทวสถานศรีมยุเรศวร
เทวสถานศรีมยุเรศวร

เป็นเทวสถานฮินดูที่อุทิศแด่พระพิฆเนศเทวรูปช้าง ตั้งอยู่ในเขต Moragaon โดยอย่ห่างจากเมืองปูเน่ไปทางตะวันออก 65 กิโลเมตร เทวสถานแห่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการแสวงบุญของพระพิฆเนศแปดองค์ที่เรียกว่า Ashtavinayaka ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นที่ที่สำคัญที่สุดของการเดินทางแสวงบุญนมัสการพระพิฆเนศ

กลางวัน
รับประทานอาหาร
ภัตตาคาร
    เดินทาง
  • สิทธาเทก
  • เทวสถานศรีสิทธิวินายกะ
สิทธาเทก
สิทธาเทก

เป็นเมืองที่อยู่ในเขต Ahmednagar โดยตั้งอยู่บนทางผ่านแม่น้ำบิม่า เมืองนี้เป็นที่ตั้งของ "เทวสถานศรีสิทธิวินายกะ" อีกสถานที่สักการะพระพิฆเนศอีกสำคัญของแถบนี้

เทวสถานศรีสิทธิวินายกะ
เทวสถานศรีสิทธิวินายกะ

เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูที่อุทิศให้กับพระพิฆเนศในฐานะที่เป็นหนึ่งในแปดสถานที่สักการะพระพิฆเนศในแถบนี้ ตัวเทวสถานตั้งอยู่บนเนินเขาล้อมรอบด้วยต้นไม้ตรงบริเวณฝั่งทางเหนือของแม่น้ำบิม่า ในพื้นที่เมืองสิทธาเทก ตัวเทวสถานสร้างในสีชมพู มีทางเข้าที่หันหน้าไปทางทิศเหนือ มีเพดานหินรูปโดม ภายในอาคารหลักประดิษฐานพระพิฆเนศที่หันไปทางขวาของวัด

เย็น
รับประทานอาหาร
โรงแรม ห้องอาหาร
โรงแรมและที่พัก
The pride/orchid hotel THE PRIDE/ORCHID HOTEL
เช้า
รับประทานอาหาร
โรงแรม ห้องอาหาร
    เดินทาง
  • วัดศรีมหาคณปติ
วัดศรีมหาคณปติ
วัดศรีมหาคณปติ

เป็นหนึ่งในวัดที่ประดิษฐานของพระพิฆเนศแปดองค์ที่โด่งดังของอินเดีย ถูกสร้างขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 9 ถึง 10 ภายในวัดนี้ประดิษฐานพระพิฆเนศชื่อ "ศรีมหาคณปติ" และบริจาคโดยตระกูล "Khollam" ซึ่งเป็นตระกูลช่างทองที่อยู่ในแถบนี้ ตัววัดมีวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยมีประตูทางเข้าขนาดใหญ่ที่สวยงาม

กลางวัน
รับประทานอาหาร
ภัตตาคาร
    เดินทาง
  • โอซาร์
  • วัดศรีวิฆเนศวา
  • เลนยาตรี
  • วัดศรีคีรีจัตมา (ถ้ำเลนยาตรี)
โอซาร์
โอซาร์

เป็นเมืองๆ หนึ่งในเขตนาชิคของรัฐมหาราษฏระ ตั้งอยู่บนทางหลวงแห่งชาติหมายเลข 3 (ทางหลวงมุมไบ-อักรา) โอซาร์ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่กำลังพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็วในเขตนาชิค

วัดศรีวิฆเนศวา
วัดศรีวิฆเนศวา

เป็นวัดประจำเมืองโอซาร์ที่สร้างเพื่ออุทิศแด่องค์พระพิฆเนศ Ashtavinayaka ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพิฆเนศที่เคารพบูชา รูปแบบพระพิฆเนศที่นี่เรียกว่า Vignahar (ผู้กำจัดสิ่งขัดขวาง) ซึ่งหมายการกำจัดสิ่งกีดขวางให้ชีวิตพ้นอุปสรรค นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับตำนานของพระพิฆเนศองค์นี้ที่เอาชนะ Vignasura ซึ่งเป็นชื่อฝ่ายอธรรมของตำนานนี้ ภายในวัดมีพระพิฆเนศที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกและขนาบข้างด้วยรูปเคารพทองเหลืองของท่านสิทธีและริดธี

เลนยาตรี
เลนยาตรี

เป็นเขตชนบทที่ตั้งอยู่ในเขต Pune ของรัฐมหาราษฏระ ที่นี่โด่งดังจากการเป็นที่ตั้งของถ้ำเลนยาตรี หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวและสักการะพระพิฆเนศที่โด่งดังในแถบนี้

วัดศรีคีรีจัตมา (ถ้ำเลนยาตรี)
วัดศรีคีรีจัตมา (ถ้ำเลนยาตรี)

เป็นกลุ่มของถ้ำที่เดิมทีเป็นของศาสนาพุทธในช่วงประมาณศตวรรษที่ 1 ที่ได้รับการดัดแปลงให้เป็นวัดฮินดูที่อุทิศแด่พระพิฆเนศประมาณช่วงศตวรรษที่ 7 ในชื่อ Ashtavinayak โดยเป็นหนึ่งในศาลเจ้าพระพิฆเนศแปดองค์ในรัฐมหาราษฏระ ซึ่งการสักการะองค์พระพิฆเนศจะต้องขึ้นบันไดไป 283 ขั้น และที่บริเวณถ้ำแห่งนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของเมืองเลนยาตรีได้อีกด้วย

เย็น
รับประทานอาหาร
โรงแรม ห้องอาหาร
โรงแรมและที่พัก
The pride/orchid hotel THE PRIDE/ORCHID HOTEL
เช้า
รับประทานอาหาร
โรงแรม ห้องอาหาร
    เดินทาง
  • ปาลี
  • เทวสถานศรีบัลลาเลศวา
ปาลี
ปาลี

เป็นเมืองชนบทหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตรากาด รัฐมหาราษฏระของอินเดีย มีชื่อเสียงจากการเป็นที่ตั้งของ เทวสถานศรีบัลลาเลศวา หนึ่งในสถานที่สักการะพระพิฆเนศที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ

เทวสถานศรีบัลลาเลศวา
เทวสถานศรีบัลลาเลศวา

เป็นหนึ่งในเทวสถานพระพิฆเนศที่สำคัญของอินเดีย ตั้งอยู่ในเขตเมืองปาลี โดยตั้งอยู่ระหว่างป้อม Sarasgad และแม่น้ำ Amba วัดนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 1640 โดย Moreshvar Vitthal Sindkar เขาเปพระพิฆเนศ ภายในวัดมีพระพิฆเนศที่หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และงวงหันไปทางซ้าย บริเวณพระเนตร และพระนลาฏ (หน้าผาก) ประดับด้วยเพชร ประทับอยู่บนบัลลังก์ไม้แกะสลัก

กลางวัน
รับประทานอาหาร
ภัตตาคาร
    เดินทาง
  • มุมไบ
มุมไบ
มุมไบ

เมืองมุมไบ หรือชื่อเดิมอันเป็นที่รู้จักกัน คือ เมืองบอมเบย์ ซึ่งเป็นเมืองท่า และเมืองทางการค้าที่สำคัญของประเทศอินเดีย ชมตึกอาคารบ้านเรือน ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิคที่เคยรุ่งเรืองถึงขีดสุดเมื่อครั้งเป็นเมืองอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1877 จนได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1947 และสถาปนาประเทศ เป็นสาธารณรัฐอินเดีย เมื่อปี ค.ศ. 1950 เมืองมุมไบ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอาหรับ มีหาดทรายสีขาวที่ทอดยาวเหยียดของอ่าวราวกับสร้อยพระศอราชินี และเป็นเมืองที่ผลิตภาพยนตร์มากที่สุดในโลกอีกด้วย จนได้รับฉายาว่าเป็นเมือง Bollywood แห่งอินเดีย

เย็น
    เดินทาง
  • ท่าอากาศยานมุมไบ
ท่าอากาศยานมุมไบ
ท่าอากาศยานมุมไบ

ท่าอากาศยานนานาชาติฉัตรปาตีชีวจี มุมไบ ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางมุมไบไปทางเหนือ 30 กม. (19 ไมล์) ไม่นานมานี้มีการก่อสร้างส่วนขยายเพิ่มเติม และการปรับปรุงท่าอากาศยานนานาชาติฉัตรปาตีชีวจี มุมไบ เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับ และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสาร รวมถึงมีการปรับปรุงเส้นทางถนนไปยังสนามบิน โครงการนี้ครอบคลุมถึงอาคารผู้โดยสาร 2 แห่งใหม่ ที่มีกำหนดเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในสิ้นปี 2014 ส่วนต่อขยายไปยังระบบรถไฟใต้ดิน LRT ของมุมไบใหม่จะสร้างต่อไปจนกระทั่งถึงท่าอากาศยานในปี 2016

รับประทานอาหาร
ภัตตาคาร
เช้า
    เดินทาง
  • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เป็นท่าอากาศยานที่เปิดทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ซึ่งในตอนแรกเปิดใช้แค่เที่ยวบินภายในประเทศ ในตอนนี้เป็นเสมือนท่าอากาศยานหลักประจำกรุงเทพฯ และยังเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีผู้เดินทางคับคั่งที่สุดในประเทศอีกด้วย