Tourkrub Logo
แพลนการเดินทาง
เช้า
รับประทานอาหาร
    เดินทาง
  • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  • หอคอยเมืองอังวะ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เป็นท่าอากาศยานที่เปิดทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ซึ่งในตอนแรกเปิดใช้แค่เที่ยวบินภายในประเทศ ในตอนนี้เป็นเสมือนท่าอากาศยานหลักประจำกรุงเทพฯ และยังเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีผู้เดินทางคับคั่งที่สุดในประเทศอีกด้วย

หอคอยเมืองอังวะ
หอคอยเมืองอังวะ

เป็นหอคอยประจำเมืองอังวะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังเพื่อใช้สังเกตการณ์ข้าศึก สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1822 หลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวในปี ค.ศ.1838 หอแห่งนี้เกิดการเอียงตัว แต่ได้รับการบูรณะเป็นโครงสร้างเดิม นี้เป็นหนึ่งในรูปแบบสถาปัตยกรรมพม่าในช่วงต้นศตวรรษที่ 19

กลางวัน
รับประทานอาหาร
    เดินทาง
  • ท่าอากาศยานมัณฑะเลย์
  • อังวะ
  • วัดมหาอ่องเหม่
  • สกายน์
  • วัดเจดีย์นมนาง
  • เจดีย์อูมินทงแส่
  • สกายน์
  • Bagaya Monastery
ท่าอากาศยานมัณฑะเลย์
ท่าอากาศยานมัณฑะเลย์

เป็นท่าอากาศยานหลักที่ให้บริการเมืองมัณฑะเลย์ อยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ไปทางตอนใต้ประมาณ 40 กิโลเมตร ที่นี่เป็น 1 ใน 3 ท่าอากาศยานนานาชาติของประเทศพม่า สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2542 อีกทั้งยังเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศ มีทางวิ่ง (รันเวย์) ซึ่งถือว่ามีความยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อังวะ
อังวะ

ตั้งอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า เป็นเมืองหลวงเก่าของพม่าถึง 5 ครั้งในช่วง 360 ปีระหว่าง ค.ศ. 1365 ถึง ค.ศ. 1842 ทั้งในสมัยราชวงศ์อังวะ ราชวงศ์ตองอู และราชวงศ์อลองพญา ในประวัติศาสตร์เมืองอังวะผ่านการสู้รบ ถูกปล้นสะดมและฟื้นฟูมาแล้วหลายครั้ง ปัจจุบันถูกทิ้งร้างหลักจากถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง อันเป็นผลมาจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1839 ซากปรักหักพังที่เหลืออยู่ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวจากมัณฑะเลย์

วัดมหาอ่องเหม่
วัดมหาอ่องเหม่

วัดมหาอ่องเหม่บอนซาน เป็นวัดใหญ่ที่สร้างจากหินแกะสลักสวยงาม มีการสร้างหลายๆชั้นสลับซับซ้อน

สกายน์
สกายน์

เมืองสกายน์ เป็นหนึ่งในศูนย์กลางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ตั้งอยู่ในแม่น้ำอิระวดี อยู่ห่างจากมัณฑะเลย์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร เมืองนี้มีอารามทางศาสนาและอารามที่สำคัญหลายแห่ง โดยเฉพาะเจดีย์จำนวนมากตามสันเขาที่ทอดยาวขนานไปกับแม่น้ำ

วัดเจดีย์นมนาง
วัดเจดีย์นมนาง

วัดเจดีย์นมนาง สร้างโดยพระเจ้าต้าหลู่ เมื่อปี ค.ศ.1636 เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วหรือพระทันตธาตุที่ได้มาจากลังกา เจดีย์นี้เป็นเจดีย์ทรงโอคว่ำแบบสิงหล หรือเจดีย์ทรงลังกา มีตำนานเล่าว่าองค์ระฆังทรงกลมผ่าครึ่งซีกนี้ ได้ต้นแบบมาจากถัน พระชายาคนโปรดของพระเจ้าต้าหลู่ องค์เจดีย์มีความสูง 46 เมตร เส้นรอบวงวัดได้ 274 เมตร และใช้อิฐในการก่อสร้างมากถึง 10,126,552 ก้อน

เจดีย์อูมินทงแส่
เจดีย์อูมินทงแส่

มีอีกชื่อว่าวัด 30 ถ้ำ วัดนี้อยู่กลางเนินเขาสกายน์ฮิล ทำให้มองเห็นทัศนียภาพสวยงามของป่าเจดีย์บนภูเขา และสายน้ำอิรวดีที่ไหลอยู่เบื้องล่าง ภายในมีพระพุทธรูป 45 องค์ประดิษฐานเรียงกันเป็นครึ่งวงกลม เจดีย์แห่งนี้เป็นหนึ่งในหนึ่งในสถานที่ที่โดดเด่นที่สุดบนเขาสกายน์

สกายน์
สกายน์

เมืองสกายน์ เป็นหนึ่งในศูนย์กลางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ตั้งอยู่ในแม่น้ำอิระวดี อยู่ห่างจากมัณฑะเลย์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร เมืองนี้มีอารามทางศาสนาและอารามที่สำคัญหลายแห่ง โดยเฉพาะเจดีย์จำนวนมากตามสันเขาที่ทอดยาวขนานไปกับแม่น้ำ

Bagaya Monastery
Bagaya Monastery

วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1834 ช่วงรัชสมัยของพระเจ้าบากีดอว์(Bagyidaw) โดยสร้างขึ้นด้วยไม้สักทั้งหลัง ประกอบด้วยเสาไม้สักขนาดมหึมาทั้งสิ้น 267 ต้น เสาต้นที่ใหญ่สุดวัดความสูงได้ 60 ฟุต มีเส้นรอบวง 9 ฟุต วัดนี้มีโครงสร้างที่ใหญ่โต โดยมีขนาดความยาว 188 ฟุต กว้าง 103 ฟุต วัดนี้เป็นที่เก็บมรดกทางวัฒนธรรมของพม่าไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมหรืองานแกะสลักเก่าแก่หลายๆชิ้น ซึ่งยากที่จะพบเจอในยุคสมัยนี้แล้ว

เย็น
รับประทานอาหาร
ภัตตาคาร บริการอาหารค่ำ ณ ภัตตาคาร
โรงแรมและที่พัก
Hazel hotel ณ เมืองมัณฑะเลย์ หรือเทียบเท่าระดับ 3 ดาว Hazel Hotel ณ เมืองมัณฑะเลย์ หรือเทียบเท่าระดับ 3 ดาว
เช้า
รับประทานอาหาร
โรงแรม รับประทานอาหารเช้า ที่ห้องอาหารของโรงแรม
    เดินทาง
  • พระราชวังมัณฑะเลย์
  • วัดกุโสดอ
พระราชวังมัณฑะเลย์
พระราชวังมัณฑะเลย์

เป็นคอมเพล็กซ์ของพระราชวังที่ก่อสร้างด้วยไม้สักที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้โดนระเบิดจากเครื่องบินฝ่ายพันธมิตรกองทัพอังกฤษ ปัจจุปันพระราชวังที่เห็นอยู่เป็นพระราชวังที่รัฐบาลพม่าได้จำลองรูปแบบของพระราชวังของเก่าขึ้นมา แต่ที่เหมือนวังเก่าก็แค่เพียงโครงสร้างกับ ชื่อเท่านั้น

วัดกุโสดอ
วัดกุโสดอ

เป็นอนุสรณ์แห่งการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 4 ซึ่งพระเจ้ามินดงทรงให้จารึกพระไตรปิฎก 84,000 พระธรรมขันธ์ ลงบนหินอ่อน 729 แผ่น ถือเป็นพระไตรปิฎกเล่มใหญ่ที่สุดในโลก และถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกพระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี ตัวเจดีย์หลักในวัดมีความสูง 30 เมตร ซึ่งจำลองรูปแบบมาจากพระมหาเจดีย์ชเวสิกองแห่งเมืองพุกาม

กลางวัน
รับประทานอาหาร
ภัตตาคาร บริการอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร
    เดินทาง
  • มิงกุน
  • หมู่บ้านมิงกุน
  • มหาเจดีย์ยักษ์ (เจดีย์มิงกุน)
  • ระฆังมิงกุน
  • เจดีย์ชินพิวมิน (ทัชมาฮาลแห่งลุ่มน้ำอิรวดี)
  • พระราชวังไม้สักชเวนานดอว์ (เจดีย์ชเวนานดอว์)
มิงกุน
มิงกุน

มิงกุนอยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 11 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายขอม่น้ำอิระวดี ที่นี่เป็นพื้นที่ทางโบราณสถานที่สำคัญอีกแห่งของพม่า

หมู่บ้านมิงกุน
หมู่บ้านมิงกุน

หมู่บ้านมิงกุน เป็นส่วนหนึ่งของอมรปุระ แต่อยู่บนเกาะกลางลำน้ำอิรวดีและไปได้ด้วยเส้นทางเรือเท่านั้นทว่ามีอนุสรณ์สถานที่แสดงความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าปดุง ระหว่างทางจะได้เห็นหมู่บ้านอิรวดีที่มีลักษณะเป็น “กึ่งบ้านกึ่งแพ” เนื่องจากระดับน้ำอิรวดีในแต่ละฤดูกาลจะมีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะฤดูน้ำหลาก ระดับน้ำจะขึ้นสูงกว่าฤดูแล้วกว่า 10 เมตร ชาวพม่าจึงนิยมสร้างบ้านกึ่งแพ คือถ้าน้ำขึ้นสูงก็ร่วมแรงกันยกบ้านขึ้นที่ดอนครั้นน้ำลงมากก็ยกบ้านมาตั้งใกล้น้ำเพื่อความสะดวกสบายในการใช้แม่น้ำในชีวิตประจำวัน

มหาเจดีย์ยักษ์ (เจดีย์มิงกุน)
มหาเจดีย์ยักษ์ (เจดีย์มิงกุน)

เป็นมหาเจดีย์ยักษ์ที่สร้างไม่สมบูรณ์ในมิงกุน โดยอยู่ห่างประมาณ 10 กิโลเมตรไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของมัณฑะเลย์ การก่อสร้างขนาดใหญ่นี้เริ่มต้นโดยพระเจ้าบดอว์พญาในปี 1790 โดยภายหลังทรงพ่ายแพ้ไทยในสงครามเก้าทัพ มหาเจดีย์จึงปรากฏเพียงแค่ฐาน แต่ว่ามีความใหญ่โตมหึมาดั่งภูเขาอิฐที่มีความมั่นคง ซึ่งหากสร้างเสร็จตามแผนจะเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดและสูงที่สุดในโลก

ระฆังมิงกุน
ระฆังมิงกุน

ระฆังมิงกุนมีเส้นรอบวงถึง 10 เมตร สูง 3.70 เมตร น้ำหนัก 87 ตัน ระฆังนี้มีตำนานเล่าขานกันมาว่า พระเจ้าปดุงไม่ทรงต้องการให้มีใครสร้างระฆังเลียนแบบ จึงรับสั่งให้ประหารนายช่างทันทีที่สร้างเสร็จ ปัจจุบันระฆังใบนี้ถือว่าเป็นระฆังยักษ์ที่เล็กกว่าระฆังแห่งพระราชวังเคลมลินในกรุงมอสโคเพียงใบเดียว แต่ระฆังเคลมลินนั้นแตกร้าวไปแล้ว ไม่สามารถนำมาใช้งานได้อีก ระฆังมิงกุนจึงเป็นระฆังยักษ์ที่สามารถส่งเสียงก้องกังวานได้จริงๆ ที่เหลืออยู่ในโลก

เจดีย์ชินพิวมิน (ทัชมาฮาลแห่งลุ่มน้ำอิรวดี)
เจดีย์ชินพิวมิน (ทัชมาฮาลแห่งลุ่มน้ำอิรวดี)

เจดีย์นี้ประดิษฐานอยู่เหนือระฆังมิงกุนไม่ไกล ได้ชื่อว่าเป็นเจดีย์ที่สวยสง่ามากแห่งหนึ่ง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2359 โดยพระเจ้าบากะยีดอว์ พระราชนัดดาในพระเจ้าปดุง เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักที่พระองค์มีต่อพระมหาเทวีชินพิวมิน ซึ่งถึงแก่พิราลัยก่อนเวลาอันควร จึงได้รับสมญานามว่า “ทัชมาฮาลแห่งลุ่มอิรวดี” เจดีย์องค์นี้เป็นพุทธศิลป์ที่สร้างขึ้นด้วยภูมิจักรวาลคือมีองค์เจดีย์สถิตอยู่ตรงกลางณยอดเขาพระสุเมรุอันเชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางและโลกและจักรวาล ล้อมรอบด้วยขุนเขาและมหาสมุทรตามหลักไตรภูมิ

 พระราชวังไม้สักชเวนานดอว์ (เจดีย์ชเวนานดอว์)
พระราชวังไม้สักชเวนานดอว์ (เจดีย์ชเวนานดอว์)

ที่นี่สร้างสมัยพระเจ้ามิงดง เป็นพระตำหนักที่สร้างจากไม้สักแกะสลักด้วยลวดลายพม่า ปิดด้วยแผ่นทองทั้งหลัง ต่อมาภายหลังพระเจ้าธีบอขึ้นครองราชย์จึงทรงยกตำหนักถวายเป็นวัดให้พระสงฆ์ได้มาศึกษาธรรมะ แม้ตอนนี้ภายนอกพระตำหนักจะไม่ปรากฏความแวววับของแผ่นทองแล้ว แต่หากลองถ่ายภาพด้วยแสงแฟลชภายในพระตำหนัก ภาพที่ออกมาช่างงดงามอร่ามตายิ่งนัก

เย็น
รับประทานอาหาร
ภัตตาคาร บริการอาหารค่ำ ณ ภัตตาคาร เมนูพิเศษ กุ้งแม่น้ำเผา
โรงแรมและที่พัก
Hazel hotel ณ เมืองมัณฑะเลย์ หรือเทียบเท่าระดับ 3 ดาว Hazel Hotel ณ เมืองมัณฑะเลย์ หรือเทียบเท่าระดับ 3 ดาว
เช้า
รับประทานอาหาร
โรงแรม รับประทานอาหารเช้า ที่ห้องอาหารของโรงแรม
    เดินทาง
  • พิธีล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี
  • อมรปุระ
  • สะพานไม้อูเบ็ง
  • ทะเลสาบคองตามัน
พิธีล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี
พิธีล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี

พระมหามัยมุนี ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปมีชีวิต เพราะชาวพม่าเชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้มาประทานลมหายใจอันศักดิ์สิทธิ์เข้าไปในพระวรกายของพระพุทธรูปองค์นี้ พระมหามัยมุนีจึงเป็นดังตัวแทนของพระพุทธองค์ที่มีชีวิตจิตใจ ใครที่มากราบไหว้บูชาจะได้รับศรัทธาอันสูงล้ำ เป็นพระพุทธรูปหล่อทองสำริด ปางมารวิชัยทรงเครื่อง ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ “วัดมหามัยมุนี” หรือชื่อแท้ดั้งเดิมคือ วัดปยกยี หรือวัดยะไข่

อมรปุระ
อมรปุระ

เป็นเมืองที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น เมืองแห่งผู้ที่เป็นอมตะ และยังเคยเป็นเมืองหลวงเก่าที่เคยเจริญรุ่งเรืองทั้งทางด้านพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของพม่า ก่อนจะเปลี่ยนไปเป็นเมืองมัณฑะเลย์ เป็นเมืองที่อยู่ทางตอนใต้ของเมืองมัณฑะเลย์ นับเป็นอีกหนึ่งเมืองของพม่าที่ยังคงมนต์ขลังมาจนปัจจุบัน ซึ่งสามารถสัมผัสได้จากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมไปถึงอารยธรรมอันเก่าแก่ของเมืองที่สามารถพบเห็นได้จากเหล่าวัดอารามและเจดีย์ที่ตั้งเรียงรายอยู่รอบๆตัวเมือง

สะพานไม้อูเบ็ง
สะพานไม้อูเบ็ง

เป็นสะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลก สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าโบดอพญา สร้างขึ้นเพื่อข้ามทะเลสาบ Toungthamon ระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร จุดเด่นของสะพานเเห่งนี้นอกจากจะเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดเเล้วนั้น สะพานอูเบ็ง ยังสร้างมาจากไม้สัก ที่รื้อมาจากพระราชวังเเห่งกรุงอังวะอีกด้วย

ทะเลสาบคองตามัน
ทะเลสาบคองตามัน

ทะเลสาบนี้ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองอมรปุระ มีสะพานไม้สักอูเบ็งทอดยาวเชื่อมโยงระหว่างเมืองอมรปุระกับเกาะแต๊ะเตหยัง

กลางวัน
รับประทานอาหาร
    เดินทาง
  • วัดมหากันดายงค์
  • มัณฑะเลย์
  • ท่าอากาศยานมัณฑะเลย์
  • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
วัดมหากันดายงค์
วัดมหากันดายงค์

เป็นวัดใหญ่ที่สุดของพม่าที่เมืองอมรปุระ ซึ่งในช่วงเพลจะมีภิกษุสงฆ์นับร้อยรูปเดินเรียงแถวด้วยอาการสำรวมเพื่อรับอาหารพระพุทธมหามุนี หรือรู้จักกันในนามพระล้างหน้า ที่มีความงดงามตามศิลปกรรมพม่า ที่มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปสำริดปิดทอง ที่อย คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน เป็นสถานที่ที่สำคัญรองจากพระธาตุเชเวดากองในกรุงย่างกุ้ง

มัณฑะเลย์
มัณฑะเลย์

เมืองนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอิระวดี เป็นอดีตเมืองหลวงที่สำคัญของประเทศพม่า ก่อตั้งโดยกษัตริย์มินดง แต่ภายหลังจากที่พม่าได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิอังกฤษ ทำให้เมืองแห่งนี้ลดความสำคัญลงไป แต่ปัจจุบัน เมืองมัณฑะเลย์ได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นเมืองศูนย์กลางที่สำคัญเมืองหนึ่งทางตอนเหนือของประเทศพม่า โดยมีขนาดประชากรที่มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ และมีความสำคัญทั้งในแง่ของศิลปะ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว

ท่าอากาศยานมัณฑะเลย์
ท่าอากาศยานมัณฑะเลย์

เป็นท่าอากาศยานหลักที่ให้บริการเมืองมัณฑะเลย์ อยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ไปทางตอนใต้ประมาณ 40 กิโลเมตร ที่นี่เป็น 1 ใน 3 ท่าอากาศยานนานาชาติของประเทศพม่า สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2542 อีกทั้งยังเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศ มีทางวิ่ง (รันเวย์) ซึ่งถือว่ามีความยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เป็นท่าอากาศยานที่เปิดทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ซึ่งในตอนแรกเปิดใช้แค่เที่ยวบินภายในประเทศ ในตอนนี้เป็นเสมือนท่าอากาศยานหลักประจำกรุงเทพฯ และยังเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีผู้เดินทางคับคั่งที่สุดในประเทศอีกด้วย

เย็น
รับประทานอาหาร